Wong Wian Nam Pu วงเวียนน้ำพุ ภูเก็ต
In the past this circle was home to a radio tower used to broadcast important news to the local people but was changed to a fountain in1962.
เรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว:ทุกท่านรู้จักกระบอกฉีดนำ้ที่อยู่ในภาพนี้หรือไม่? วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องราวของ"จุ๊ยปีด"(กระบอกฉีดนำ้) จุ๊ยปีดเป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาจีนหมายถึงกระบอกฉีดนำ้ เนื่องจากการทำเหมืองแร่ในภูเก็ต พังงา ระนอง ส่วนใหญ่ผู้ทำเหมืองจะเป็นคนจีน...กระบอกฉีดนำ้นี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำเหมืองฉีด เหมืองที่เปิดศักราชการทำแร่ได้ในปริมาณสูงขึ้นในราวปี๒๔๗๐ ต่อจากยุคการทำเหมืองแร่ด้วยเรือขุด(เริ่มขึ้นในปี๒๔๕๐ โดยฝรั่งออสเตรเลีย)สามารถทำลายหน้าดินได้อย่างรวดเร็วและเป็นเครื่องมือหลักในการบุกเบิกหน้าเหมืองซึ่งเป็นงานภาคสนามของการทำเหมืองฉีด...จุ๊ยปีดทำด้วยเหล็กที่หล่อจากแม่พิมพ์ มีส่วนประกอบหลายส่วนด้วยกัน เช่นปากครอบกระบอกฉีดซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด๑.๒นิ้วและ๑.๕นิ้วเพื่อใช้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับลักษณะใช้งาน ตัวกระบอกฉีดที่ประกอบกับปากครอบกระบอกฉีด ชิ้นประกอบเป็นรูปโค้งประกบหมวกยาง ตัวฐานที่มี"หัวลิง"(เหล็กกลมกลวงคล้ายมะพร้าวปอกเปลือกเฉือนส่วนบน)สำหรับครอบหมวกยาง ขันน้อตยึดเรียบร้อยแล้วก็สามารถเคลื่อนหมุนได้รอบทิศทาง นำ้จากท่อฉีดจะไหลจากส่วนหัวลิงเข้าสู่ปลายกระบอกฉีด โดยมีคานไม้สำหรับถ่วงนำ้หนักและเป็นคันบังคับสำหรับใช้งาน จุ๊ยปีดเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการทำเหมืองในยุคกลางๆที่ยังไม่มีการพัฒนาเครื่องมือกลหนักๆ...การทำเหมืองในสมัยก่อนไม่ได้คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากนัก ดังนั้นจึงทำให้หน้าดินถูกทำลายลงเป็นโคลนซึ่งส่วนใหญ่ไหลลงสู่ทะเล ทำให้สูญเสียหน้าดินทางการเกษตรที่มีอินทรียวัตถุไปค่อนข้างมาก หากมีเครื่องมือกลในการขุดลอกหน้าดินชั้นบนมาเก็บไว้ การทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีตจะทำลายสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก...อย่างไรก็ดีการออกแบบจุ๊ยปีดสำหรับใช้ทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีตถือเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยนั้น ที่สามารถจะขุดเอาแร่ดีบุกโดยวิธีการทำเหมืองฉีดมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมแก่ยุคสมัยได้ และจุ๊ยปีดหรือกระบอกฉีดนำ้ทำเหมืองแร่ดีบุกสมัยก่อนยังอยู่ในความทรงจำของตำนานการทำเหมืองแร่ของเมืองภูเก็ตแห่งนี้...ตลอดไปครับ...
Thanks to: https://www.facebook.com/PhuketThaihuaMuseum
Thanks to Phuket in Memorial
Thanks to: https://www.facebook.com/PhuketThaihuaMuseum
No comments:
Post a Comment