Sarn Jao Tha Reua ศาลเจ้า ท่าเรือ ถลาง






   


    


   



ศาลเจ้าท่าเรือมี องค์พระโป้เส่ง ไต่เต่ (หงอ จินหยิน) เป็นพระประธาน ท่านเป็นเทพเจ้า ที่มีความสามารถ ในวิชาแพทย์แผนโบราณ เลื่องลือในการ รักษาโรคภัยไข้เจ็บ จากประวัติคุณงามความดี และความสามารถ ในวิชา แพทย์โบราณ ได้มีผู้รวบรวมตำรับตำรายา ได้จัดทำเป็นหนังสือ สารานุกรม สมุนไพรจีนขึ้น แปลเป็นภาษาต่างๆ 52 ภาษา แจกให้กับห้องสมุดทั่วโลก จนชาวต่างชาติ ตั้งสมญานาม แก่โป้เส่งไต่เต่ว่า เทพเจ้าผู้ช่วยชีวิต

ต่อมา ได้มีการอัญเชิญ ดวงจิตวิญญาณของเทพเจ้าโป้เส่ง ไต่เต้ มาประทับทรง หรือที่เรียกกันว่า ม้าทรงเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับชาวบ้าน สถานที่ใช้ในการ ประทับทรง ก็เป็นบ้านของนายก เพราะตอนนั้นยังไม่มีศาลเจ้า

คนที่มารักษากับท่าน ก็มีทั้งคนร่ำรวย และคนจน แต่ท่านไม่ได้คิดค่ารักษา วันหนึ่งมีคนรวยมารักษาโรค และเมื่อหายดีแล้ว ก็บริจาคเงิน เป็นจำนวนมาก ให้กับพระหมอ หรือ เทพเจ้าหมอ บางคนก็บริจาคที่ดินให้ ทางคณะกรรมการ และชาวบ้านจึงเห็นว่า ควรจะสร้างศาลเจ้า ถ้าที่ดินไม่เพียงพอ ก็ให้ซื้อเพิ่ม

ในที่สุด ศาลเจ้าท่าเรือ ก็บังเกิดขึ้นด้วยความศรัทธา ของชาวบ้าน และ คณะกรรมการชุดนั้น ได้สร้างบนที่ดิน ที่ได้รับบริจาคและซื้อเพิ่มเติม โดยกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเงินที่ได้รับบริจาคทั้งหมด ให้กับกระทรวง มหาดไทยจนถึงทุกวันนี้

ปี พ.ศ.2543 ทางคณะกรรมการมรมติที่จะทำการปรับปรุงอาคารศาลเจ้า อีกทั้งประกอบกับกรมทางหลวงแผ่นดิน ได้ขยายทาง ทำให้บริเวณ ศาลเจ้า คับแคบลง จึงดำเนินการจัดซื้อที่ดินด้านหลัง และด้านข้างของศาลเจ้า เพื่อขยาย และก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ ซึ่งนำรูปแบบประติมากรรมประเทศจีน มาประยุกต์ให้เข้ากับการใช้ประกอบพิธีกรรม และเป็นปูชนียสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์แก่ชุมชน บ้านท่าเรือ จังหวัดภูเก็ต

พิธีกรรม / ประเพณี

งานประเพณีประจำปีที่ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ จะจัดเป็นประจำทุกปี เรียกว่าวันแซยิด ของเทพเจาต่างๆ ซึ่งหมายถึง วันเกิดของเทพเจ้า งานประเพณีประจำปี อีกอย่างหนึ่ง คือประเพณีกินผัก เริ่มในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งในงานจะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมายตลอด 9 วัน 9 คืน

ความเชื่อ

เป็นที่ชัดเจนว่า ชาวบ้านให้ความศรัทธา และเชื่อมั่นถึงความศักดิ์สิทธิ์ ในการรักษาโรคของเทพเจ้า โป้เส่ง ไต่เต่ ซึ่งปัจจุบัน แม้เรื่องปัญหาชีวิต ปัญหาทุกข์ใจต่างๆ ก็มาบนบานที่ศาลเจ้าบ้านท่าเรือแห่งนี้



***********************



ประวัติศาลเจ้าท่าเรือเริ่มมีมาจาก เมื่อประมาณ 100 ปี เศษล่วงมาแล้ว นายหว่อได้เอารูปพระหงอจิ้นหยิน มาบูชาไว้ที่บ้านนายหว่อ อยู่มานายหว่อได้ฟกช้ำทีหลัง และอักเสบมาก ไปหาหมอรักษาที่ไหนก็ไม่หายมีอาการหนักขึ้นมาก บังเอิญพระที่อยู่ในบ้านคือ หงอจิ้นหยิน ได้เข้าทรง นายหีด และทำการรักษานายหว่อจนหายเป็นปกติ เลยทำให้ชาวบ้านและบุคคลอื่น ๆ รู้ว่า หงอจิ้นหยิน (พระท่าเรือ) เป็นพระที่รักษาผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ให้หายได้ จึงมีสมญาว่า พระหมอ และมีชาวบ้านมารักษากันบ่อย ๆ เสมอ

ต่อมาพอถึง เดือน 3 คืนเก้าโง้ยโช่ยก้าว ซึ่งเป็นคืนไหว้เทวดา คณะกรรมการมีนายหว่อ ได้ทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณของหงอจิ้นหยิน ซึ่งเข้าทรงนายหีด ได้จัดขบวนแห่ไปนมัสการพระทอง (วัดพระทอง) เป็นประจำทุก ๆ ปี คือแห่ขบวนจากบ้านนายหว่อในเวลากลางคืน ตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรีย์ ตอนขากลับจากวัดพระทองเป็นเวลาสว่างที่ขบวนผ่านมา เมื่อกำลังทรงอยู่นั้นก็รู้ว่าบ้านใครเจ็บป่วย ก็แวะรักษาและให้ยาแก่ผู้ป่วยต่อมาผู้ที่พระรักษา ได้หายป่วยทุก ๆ ราย ผู้ที่หายป่วยได้หายเป็นปกติทุก ๆ ราย จนผู้คนนับถือกันมาก

มาก ต่อมานายหว่อเจ้าของบ้านได้เสียชีวิตไป ญาติของนายหว่อ คือนายหยองได้นำรูปของหงอจิ้นหยิน มาไว้ที่บ้านของนายหยอง และก็มีคนมารักษาอาการเจ็บป่วยกันเรื่อย ๆ ต่อมานายหีดคนทรงได้ตายลง เป็นอันว่าปีนี้ขาดคนทรง แต่คณะกรรมการและนายหยองได้จัดขบวนแห่อีก ออกจากบ้านท่าเรือไปตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรีย์พอไปถึงใกล้ตลาดอำเภอถลาง (บ้านเคียน) ดวงวิญญาณของพระหงอจิ้นหยิน ก็จับคนทรงใหม่ คือ นายเบี้ยว ซึ่งเป็นหลานของนายหีดคนทรงเก่า คนที่มารักษากับท่าน ก็มีทั้งคนร่ำรวย และคนจน แต่ท่านไม่ได้คิดค่ารักษา วันหนึ่งมีคนรวยมารักษาโรค และเมื่อหายดีแล้ว ก็บริจาคเงิน เป็นจำนวนมาก ให้กับพระหมอ หรือ เทพเจ้าหมอ บางคนก็บริจาคที่ดินให้ ทางคณะกรรมการ และชาวบ้านจึงเห็นว่า ควรจะสร้างศาลเจ้า ถ้าที่ดินไม่เพียงพอ ก็ให้ซื้อเพิ่ม คณะกรรมการชาวบ้านได้สละทรัพย์ช่วยกันบริจาคสร้างศาลเจ้าบ้านท่าเรือขึ้นเป็นเอกเทศชั่วคราวชึ้น จัดซื้อที่ดินและได้โอนให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาทรัพย์สินโดยคณะกรรมการ และต่อมาก็ได้ร่วมกันจัดงานการกุศล ผู้มีจิตศรัทธาอุทิศสร้างให้เป็นอาคารถาวรมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้.


ศาลเจ้าท่าเรือ เริ่มทำพิธีกินเจ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511 มีบุคคลจำนวนหนึ่งส่วนมากเป็นคนทรงพระได้แก่ นายหลี่ นายอ้วน นายโล่ย นายกี้ นายไข่ และนายเฉ่งตีด ผู้จัดการศาลเจ้าสมัยนั้น ได้ปรึกษาหารือกัน ว่าจะกินเจที่ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพระหงอจิ้นหยินเป็นผู้ใหญ่ในศาลเจ้าแห่งนี้ ซึ่งมีฉายาว่า “โปเซ้งไต่เต่” บุคคลเหล่านี้ได้ปรึกษาหารือกันว่า จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อสิ่งของต่าง ๆ เมื่อตกลงร่วมกันแล้วจึงร่วมกันจัดงานขึ้นที่ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ โดยจัดให้มีรำวงการกุศลขึ้น เมื่อได้เงินมาแล้ว ก็จัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้จนครบบริบูรณ์

จากนั้นก็ไปติดต่อการกินเจจากศาลเจ้ากะทู้ เพื่อขอเชิญพระกินเจมากินเจที่ศาลเจ้าท่าเรือ โดยในวันนั้น องค์พระเตี่ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) พระเฮี่ยนเที้ยนส่งเต่ และ พระสามฮู้อ๋องเอี๋ยของศาลเจ้ากระทู้ ได้มาทำพิธีอัญเชิญ ***วเฮี้ยน มายังศาลเจ้าท่าเรือด้วย พร้อมกันนี้พระเตี่ยนฮู้หง่วนโส่ย ได้กำชับให้ชาวท่าเรือช่วยกันดูแล และจัดการกินเจให้ครบ 3 ปี ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ก็จะนำพระกินเจกลับที่เดิม (กะทู้) แต่ถ้าผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ต่อไปศาลเจ้าก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
ในที่สุดก็เริ่มกินเจที่ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2512 (ปีหนึ่งกินครบ 9 วันเป็นเสร็จพิธี) กินเจติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 38 ปีบริบูรณ์ การกินเจนี้ได้มีคนกินมากขึ้นทุก ๆ ปี เพราะมีความศรัทธาโดยทุกคนถือว่าทำจิตใจให้สบายแม้ว่าจะตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บป่วยได้ไข้ เรื่องทุกข์อันใดเกิดขึ้น ก็มาบนบานต่อพระกินเจ แล้วก็สำเร็จสมประสงค์ ดังนั้นชาวบ้านใกล้เคียง จากตำบลต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ต ก็มาสมทบกันมากมาย
ต่อมาปี พ.ศ.2543 ทางคณะกรรมการมีมติที่จะทำการปรับปรุงอาคารศาลเจ้า อีกทั้งประกอบกับกรมทางหลวงแผ่นดิน ได้ขยายทาง ทำให้บริเวณ ศาลเจ้า คับแคบลง จึงดำเนินการจัดซื้อที่ดินด้านหลัง และด้านข้างของศาลเจ้า เพื่อขยาย และก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ ซึ่งนำรูปแบบประติมากรรมของศาลเจ้าขงจื้อ นานกิง ประเทศจีน มาประยุกต์ให้เข้ากับการใช้ประกอบพิธีกรรม และเป็นปูชนียสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์แก่ชุมชน บ้านท่าเรือ จังหวัดภูเก็ต


ศาลเจ้าท่าเรือมี องค์พระโป้เส้งไต่เต่ (หงอ จิ้นหยิน) เป็นพระประธาน ท่านเป็นเทพเจ้า ที่มีความสามารถ ในวิชาแพทย์แผนโบราณ เลื่องลือในการ รักษาโรคภัยไข้เจ็บ จากประวัติคุณงามความดี และความสามารถ ในวิชา แพทย์โบราณ ได้มีผู้รวบรวมตำรับตำรายา ได้จัดทำเป็นหนังสือ สารานุกรม สมุนไพรจีนขึ้น แปลเป็นภาษาต่างๆ 52 ภาษา แจกให้กับห้องสมุดทั่วโลก จนชาวต่างชาติ ตั้งสมญานาม แก่โป้เส้งไต่เต่ว่า เทพเจ้าผู้ช่วยชีวิต

No comments:

Post a Comment