Wat Pra Nang Sang - วัดพระนางสร้าง ถลาง


To be perfectly honest I don't like this temple, it has always struck me as tacky, partly due to what seems a hodgepodge array of buildings and ornaments. It looks old and broken but it seems there is renovation work going on, so there is an element of hope.......


All said it is reputed to be an ancient temple, originally called Wat Takien, and is one of Phuket's important pieces of history as it was used as a battle field during the Battle of Thalang in 1785 when the two Heroines fought off the Burmese.


 The Villagers pronounce Jan (one of the two heroines) to be the leader in their fight with the Burmese.


The name of the temple derives from the legend that the wife of the ruler of Nakorn Sri Thammarat was accused of having an affair and was sentenced to death. Before her execution she asked to go to pay her final respects to Buddha relics in Sri Lanka and on her return she built the temple. On her execution her blood was said to be white and she became known as the Lady of White Blood.


The most important relics in the temple are the three ancient tin Buddha images found inside the larger image known as Luang Por Praputabaramee Srithalang



วัดพระนางสร้าง จังหวัดภูเก็ต ที่ได้ชื่อนี้เพราะมีตำนานผูกพันกับพระนางเลือดขาว ภายในวัดนอกจากพระประธานในพระอุโบสถแล้ว ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นาม หลวงพ่อพุทธบารมีศรีถลาง (เพราะวัดตั้งอยู่ที่ถลาง) ซึ่งได้ค้นพบเศียรพระที่ทำจากดีบุก (เพราะภูเก็ตเคยเป็นแหล่งผลิคดีบุกที่สำคัญของประเทศ) ภายในองค์พระ ชาวบ้านเรียกว่าพระในพุง


ประวัติวัดพระนางสร้าง

เนื่องจากการบันทึกและการรวบรวมตั้งแต่ระยะแรกจนถึงปัจจุบันมีน้อยประวัติความเป็นมาของวัดที่แน่นอนจริงๆ จึงยังไม่มีได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาความละเอียดของเรี่องไม่ค่อยจะเหมือนกันนักแต่ใจความส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันพอจะรวบรวมได้ดังนี้

พระนางเลือดขาวเป็นพระมเหสีของผู้ครองนครใดไม่เป็นที่แน่ชัดเป็นผู้มีความศรัทธราในพุทธศาสนามากต่อมาถูกเสนาในพระนครกลั่นแกล้งใส่ร้ายต่อเจ้าครองนครว่าพระนางเป็นชู้กับมหาดเล็กเจ้าครองนครหลงเชื่อจึงสั่งให้เพชฌฆาตนำมหาดเล็กนั้นและพระนางไปประหารชีวิตพระนางได้พยายามขอร้องและแสดงความบริสุทธิ์ถึงกระนั้นเจ้าครองนครก็ไม่เชื่อจะประหารชีวิตพระนางให้ได้

เมื่อหมดหนทางจึงได้ขอผ่อนผันว่าให้พระนางได้ไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาก่อนจึงจะกลับมา ให้ประหารชีวิตประกอบกับเวลานั้นคนเดินเรือมาจากหมู่เกาะสุมาตราลังกา เล่าให้คนในนครฟังเสมอ ๆว่าที่ลังกาพระพุทธศาสนา เจริญมากและในปีหน้าจะมีการจัดงานทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ด้วย (ตามประวัติศาสตร์สากล เล่ม ๑๒ ของหลวงวิจิตรวาทการ ๒๔๗๔ หน้า ๒๘ กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญที่สุดในสุมาตราเมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๐ ซึ่งอาจจะเป็นปีเดียวกันก็ได้ )เจ้าครองนครจึงตกลงเพราะมีเหตุผลที่ว่าคนในนครนั้นไม่ชำนาญในการเดินเรือและหนทางก็ไกลมากคงไปสิ้นพระชนม์เสียระหว่างทางมากกว่า

พระนางเลือดขาวและคณะที่ยังสวามิภักดิ์พระนางอยู่ก็ออกเดินทางตลอดเวลาเดินทางพระนางเฝ้าแต่อ้อนวอนและยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยให้คุ้มครองป้องกันพระนางทรงบอกแก่ผู้ที่ร่วมเดินทางว่าถ้าเราไม่สิ้นวาสนาเสียก่อนต้องไปนมัสการพระบรมธาตุให้ได้และถ้าเราเดินทางกลับมาโดยสวัสดิภาพก็จะสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกจึงจะไปรับอาญาที่ถูกกล่าวหาอาจเป็นด้วยบุญญาธิการที่เคยมีมาก่อนหรือผลอนิสงส์แห่งการยึดมั่นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นได้

พระนางและคณะจึงไปถึงลังกาเข้านมัสการพระบรมธาตุด้วยความปิติและได้นำเอาโบราณวัตถุหลายอย่างกลับมาด้วย ( บางคนเล่ากันว่านำพระพุทธรูปมามากมาย และบางคนเล่าว่าได้นเอาต้นโพธิ์ลังกามาด้วย และบางคนก็เล่าว่านำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย ) ตอนที่เดินทางกลับพระนางได้นำเรือเข้าพักที่เกาะถลางเพระเข้าใจว่าคงเป็นเกาะที่ใหญ่โตแต่เมื่อขึ้นเกาะเข้าจริง ๆ ก็ต้องผิดหวังจึงได้สร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกกับได้ปลูกต้นประดู่และต้นตะเคียนไว้เป็นเครื่องหมายเข้าใจว่าพระนางคงเอาของมีค่าทางพระพุทธศาสนาฝังไว้ในเจดีย์บ้างแต่ตอนนั้นก็คงไม่สร้างอะไรมากมายเพราะภูมิประเทศเดิมเป็นป่าใหญ่ (ต้นตะเคียนและต้นประดู่ได้ถูกโค่นเพื่อสร้างโรงเรียนเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว)

เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยจึงออกเดินทางต่อไปจนมาถึงนครแม้จะรู้ว่ากำลังจะไปรับความตายแต่พระนางก็มีความสุขปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เอาไว้แต่เมื่อมาถึงชานเมืองพระนางก็ต้องได้รับความเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งเพราะในขณะที่พระนางไม่อยู่ได้เกิดการแย่งชิงพระราชสมบัติพระสวามีได้ถูกประหารชีวิตพระนางจึงไม่เข้าไปในนครด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้พ้นโทษ

วัดพระนางสร้างเป็นวัดเก่าแก่มีมานานแล้ว เชื่อกันว่าสร้างก่อนพม่าเข้าทำศึกเมืองถลาง พ.ศ. 2328 มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พระนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างวัด พระนางเลือดขาวเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก เป็นมเหสีของเจ้าผู้ครองนคร แต่ถูกคนใกล้ชิดกลั่นแกล้งว่ามีชู้ จึงต้องโทษประหารชีวิต แต่พระนางเลือดขาวขอไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาก่อน คณะของนางเลือดขาวลงเรือไปถึงลังกา เมื่อกลับมาได้นำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุหลายอย่างมาด้วย ตอนเดินทางกลับพระนางเลือดขาวได้แวะพักที่เกาะถลาง แล้วสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึก ปลูกต้นประดู่และต้นตะเคียน พร้อมทั้งนำของมีค่าทางพุทธศาสนาเช่นพระพุทธรูปฝังไว้ในเจดีย์ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดพระนางสร้าง เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วจึงออกเดินทางกลับไปยังเมืองตน

วัดพระนางสร้างเป็นวัดสำคัญในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนในเมืองภูเก็ต และยังเป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งศึกถลาง พ.ศ. 2328 ท้าวเทพกระษัตรีได้ใช้วัดพระนางสร้างเป็นสถานที่ ตั้งค่ายระดมพลเข้าต่อสู้กับพม่า จนสามารถขับไล่พม่าออกไป รักษาเมืองถลางไว้ได้

นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่าแก่ยังเป็น ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก 3 องค์เรียกว่า ‘พระในพุง’ หรือ ‘พระสามกษัตริย์’ ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ 3 องค์อีกชั้นหนึ่ง ในบริเวณใกล้ๆ ทางเข้าอุโบสถ เราจะพบศพหลวงพ่อเซี่ยม (หลวงพ่อใบ) อยู่ในตู้กระจก ซึ่งศพของท่านไม่เน่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

สถานที่ตั้งวัดพระนางสร้างตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นโบราณสถานแห่งชาติของจังหวัดภูเก็ต http://news.phuketindex.com/travel/phuket-92-173490.html


พระสวามีพระนางได้กล่าวกับผู้ติดตามว่าในชีวิตจะต้องสร้างวัดวาอารามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกคนที่ติดตามต่างสาธุกับพระนางด้วยดังนั้นจึงได้นำวัตถุสิ่งของที่นำมาจากลังกาจะนำไปสร้างวัดแต่เมื่อผู้ครองได้รับทราบเรื่องนี้จึงให้ทหารมานำนางไปประหารชีวิตพร้อมทั้งแย่งชิงของมีค่าทางพระพุทธศาสนาไปไว้ในนครจะด้วยผลบุญที่พระนางสร้างไว้เมื่อเพชรฆาตลงดาบตัด พระเศียรออกนั้นโลหิตซึ่งพุ่งออกมามีสีขาวประชาชนที่ทราบเรื่องนี้จึงขนานนามว่า "พระนางเลือดขาว" และวัดต่างๆที่พระนางได้สร้างขึ้นจึงมีชื่อของพระนางเป็นส่วนมาก

วัดพระนางสร้างเป็นวัดที่มีอายุยาวนานและมีประวัติศาสตร์จึงมีสิ่งที่สำคัญประเภทโบราณวัตถุโบราณสถาน เป็นจำนวนมากบ้างสิ่งก็ได้ถูกรื้อออกเพื่อสร้างประโยชน์อย่างอื่นสถานที่หลายแห่งที่คนโบราณผูกปมปัญหามีเงื่อนงำเพื่อบอกที่ฝังหรือที่รักษาทรัพย์สมบัติผู้คิดแก้ปัญหาเงื่อนงำได้และรู้สถานที่ตามข้อความปริศนานั้นจะสามารถรับทรัพย์สมบัติ ณสถานที่เหล่านั้นข้อความเหล่านั้นคือ "ลายแทง"

ลายแทงของวัดพระนางสร้างมีลายละเอียดคือ

" อาถรรพถ์ฤาพบได้ฤาต้องปี ฤาต้องบัง ฤาบอกฤาเล่ามิได้ฤานำฤารู้ ฤาอุบฤาได้ ฤาบุญฤาตัวเปิด ฤานำฤาได้ ฤาบาปแล พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง มะขามหนี่ง กระท้อนหน้า ราชารอบพิกุลสอง สารภีดี สมอแดง จำปา จำปี ตะแคง มะขามหนึ่งกระท้อนหน้า ราชารอบขอบของระฆังดังเจดีย์มีศาลารอบด้วยเข็มหนึ่งไม้เลือดหลังสุดลูกมุดลูกม่วง ชมพู่ดูโบสถ์ฤาเปิดได้ดั่งลายแทงแล ฯ

เส้นแสงลายแทงหนึ่ง นางสร้างฤาเปิด ฤาดู ฤาชม ฤากราบไหว้บูชา ฤาได้บุญกุศลแล ฤาดีได้เจ้าเมืองเปิดแลฯ ฤาของแท้แน่ไซร้ฤาได้หญิงลือหญิงแลฯ เส้นแสงลายแทงสอง พระสร้าง ฤาใจฤางาม ฤาตามเจ้าเมืองฤาพระนางเดื่องฤาด้วยฤาใจ ฤางาม ฤาใจเจ้าเมืองฤาใจหญิงฤาหญิงแล ฯ

เส้นแสงลายแทงสามฤาอย่าข้ามใจฤา เจ้าเมืองฤา ฤาพิษฐานฤารูปงาม ฤาทรัพย์ ฤาลาภฤายศฤาขอได้ลูกหลานหลินฤาขอได้ดั่งประสงค์ฤา ฤาถือได้ปฏิบัติแน่ไซร้ ฤาธิษฐานได้ฤาดั่งลายแทงฯ

กรุสมบัตินี้อยู่ที่อุโบสถ์วัดพระนางสร้างรอบโบสถ์มีต้นไม้ตามลายแทงนอกจากจะเป็นที่สังเกตหมายแหล่งกรุสมบัติแล้วยังแทนถึงผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีจะต้องให้สตรี ๒ คน คนหนึ่งแต่งชุดสีสารภีและสีสมอ (มะขาม) อีกคนนุ่งผ้าม่วง (ลูกม่วง) โจงกระเบน (ลูกมุด) เสื้อสีชมพู เป็นต้น

No comments:

Post a Comment