UPDATE
Some improvements have been made to this area now.
Almost hidden from view behind the beautiful Chinese Temple Sarn Jao Tha Reua are the ruins of what was once a two storey house and administrative office owned by Phraya Wichit Songkram. The residence was registered as a historic site in 1985 after the ruins had stood forgotten for decades and it has only recently (2008) been suggested by the Phuket Provincial Office (Or Bor Jor) that the site be turned into as a 'learning centre' and tourist attraction.
And so today's trip found an over grown field with a few brick ruins and some signs of new bricks been added on top (why?) but more evident was a huge parking area that now connects to the temple so that the site can be accessed from the Thepkasattri Road. There was even a wheelchair ramp (or was that motorbike ramp?)
Within the car park or more probably 'coach park' was a new building that I presume will be the 'learning centre'.
I would have explored a bit more if it hadn't of been for a few angry looking dogs that were wndering what this crazy 'farang' was doing in their otherwise undisturbed territory!
A few years after a made this post a large staute of Guan Yu was erected in the parking area.
Background
Phraya Wichit Songkram was the Grandson of PhrayaThalang, and Son of Pra Phuket (Kaew) a tin mining magnate, when he took over the position from his farther he moved the mining town from Thalang to the Tung Ka region which eventually became more prosperous than Thalang and in 1862 become the main town of the region directly under the control of Bangkok, this would later become Phuket Town as we know it today.Phraya Wichitsongram was the Governor of Phuket between 1869 and 1878, during this period he invited Chinese businessmen to invest in business in Phuket helping to make the town more prosperous than the other twons in the region. With an increasing amount of Chinese traders setting up businesses in Phuket there was unrest between local 'kongsi' members working in the tin mines and dissatisfied with their working conditions started the Chinese uprising that occurred in 1876. It was during this period that Phraya Wichitsongkram moved his home and administrative office to Tha Reua just behind the site where Sarn Jao Tha Reua stands today. During this period Phraya wichitsongkram was given the position of Tax Collector, but due to the fact that that he had to bid to compete with the high rate of the Chinese the tax payments fell behind and dur to the fall of tin prices in 1909 his son,(Phraya Phuket (Lamduan) )was unable to pay back taxes to the government and eventually had all his property and assetts taken away. The house eventually fell to ruins and there are just a few bricks left standing today.
At this point Phuket changed to Monton Phuket with Phraya Tipkosa ( Mato Chotiksatian) as the Commisioner, for the first time Phuket was divided into districts and villages. But Phuket's most famous governor is Phraya Ratsadanupradit พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) reknowned for his developmet of Phuket's roads, banks, schools and construction of the Provisional Hall.
In 1952 the government system in Phuket changed to the way it is today with the 'Poo Wa Rachagarn' as Governor.
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=24173.0
ประวัติ
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) มีชื่อเดิมว่าทัต เป็นบุตรพระภูเก็ต (แก้ว) และหลานปู่พระยาถลาง (เจิม) หรือพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม (เจิม) เจ้าเมืองถลางระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๕๔-๒๓๘๐ เข้าใจว่าเกิดที่เมืองพังงาในระยะที่พระยาถลาง (เจิม) ผู้เป็นปู่กำลังรวบรวมผู้คนที่แตกหนีพม่าที่นั่นและเติบโตขึ้นที่พังงาและภูเก็ต ในระยะที่บิดาคือ พระภูเก็ต (แก้ว) รับราชการเป็นเจ้าเมืองภูเก็ต ลงทุนทำเหมืองแร่และสร้างร้านค้าให้จีนเช่า จึงได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์ทางด้านนี้มาตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่งหลวงพิทักษ์ทวีป (ทัต) กรมการเมืองภูเก็ตฝ่ายมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๒ พระภูเก็ต (แก้ว) บิดาถึงแก่กรรม จึงได้มีการเลื่อนยศขึ้นเป็นพระภูเก็ต (ทัต) เจ้าเมืองภูเก็ตคนต่อมา
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) หรือพระยาภูเก็ตโลหะเกษตรารักษ์ (ทัต) เป็นต้นตระกูลรัตนดิลก ณ ภูเก็ต และเจ้าเมืองภูเก็ตระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๙๒-๒๔๑๒ กับจางวางเมืองภูเก็ตระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๒-๒๔๒๑ เป็นผู้บริหารเมืองภูเก็ตที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาบ้านเมืองจากหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองถลางมาเป็นหัวเมืองที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และในที่สุดต้องโอนเมืองถลางไปขึ้นกับเมืองภูเก็ตใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๒ จึงนับได้ว่าเป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูงมาก
ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ พระยาวิชิตสงครามจางวาง (ทัต) ถึงแก่อสัญกรรม
ผลงาน
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) เป็นเจ้าเมืองนักพัฒนาที่สามารถมากในระยะที่เป็นหลวงมหาดไทย และเจ้าเมืองภูเก็ตได้ตรวจหาแหล่งแร่และจัดดำเนินการเหมืองแร่ที่บิดาได้ลงทุนไว้ได้ผลดี กิจการเหมืองแร่และการค้าในเมืองภูเก็ตเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการส่งเสริมราษฎรให้ทำนา ทำไร่ ปลูกข้าวด้วย หลังจากเป็นเจ้าเมืองเพียง ๔ ปี เมืองภูเก็ตก็เจริญทัดเทียมเมืองถลางจึงโปรดเกล้าฯให้แยกเมืองภูเก็ตออกจากเมืองถลางไปขึ้นตรงต่อเมืองพังงาทั้ง ๒ เมือง ดังปรากฏข้อความในพระบรมราชโองการยกฐานะเมืองภูเก็ตให้มีฐานะเทียบเท่า เมืองถลางในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ตอนหนึ่งว่า "..เมืองถลาง เมืองภูเก็ตอยู่ในเกาะถลางทั้ง ๒ เมือง เมืองถลางเจ้าเมืองเป็นพระยา เมืองภูเก็ตเจ้าเมืองยังเป็นพระภูเก็ต (ทัต) คนนี้รักษาราชการบ้านเมืองมาแต่ปีจอโทศก..มาจนปีฉลูเบญจศกได้ ๔ ปี บ้านเมืองเป็นปรกติเรียบร้อย..ทำภาษีอากรดีบุกของหลวงได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ถึงกำหนดงวดกำหนดปี ก็ส่งอากรเศษดีบุก พรรณผ้าจังกอบ และส่วย หางข้าวค่านา ครบตามจำนวนทุกปีมิได้ขาดค้าง.. สมเป็นผู้ใหญ่ จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานตั๋วพระราชทานสัญญาบัตรตั้งให้พระภูเก็ต (ทัต) เลื่อนขึ้นเป็นพระยาภูเก็ตเกษตรารักษ์ (ทัต) เจ้าเมืองภูเก็ต ให้มีเกียรติยศใหม่ขึ้นเสมอกับเมืองถลาง…"
เมืองภูเก็ตได้เปรียบเมืองถลางหลายด้าน เป็นต้นว่ามีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์กว่า และตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมแก่การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะหัวเมืองมลายูและเกาะปินังมีเรือสินค้าจากอาณาบริเวณดังกล่าวเข้ามาจอดแวะรับเรือสินค้าเป็นจำนวนมาก ตัวเจ้าเมืองเองคือ พระยาภูเก็ต (ทัต) สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิจารณ์ไว้ว่ามีความสามารถทางด้านการค้าขาย ชักชวนให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามาลงทุนค้าขายหรือทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามาลงทุนค้าขายหรือทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้ภาษีอากรได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเมืองถลาง และเมืองอื่น ๆ พระยาภูเก็ต (ทัต) มีความจงรักภักดีมาก เคยถวายของมีค่า เป็นต้นว่า เพรชพลอย
ในปีพ.ศ. ๒๔๐๔ หลังจากพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) ผู้สำเร็จราชการเมืองพังงาถึงแก่ อสัญกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองภูเก็ตขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
ในระยะเดียวกันนั้นได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ พระยาภูเก็ต (ทัต) ขึ้นเป็นพระยาวิชิตสงคราม (ทัต) จางวางเมืองภูเก็ตถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ มีเครื่องยศเทียบเท่าเสนาบดี คือ กระบี่บั้งทองเล่มหนึ่ง ประคำทองสายหนึ่ง ดวงตราพระจุลจอมเกล้า ชั้น ๒ ดวงหนึ่ง พานทองคำใหญ่ใบหนึ่ง พานจอกหมากทองคำ ๒ จอก ตลับยาทองคำ ๒ ตลับ ตลับพลูทองคำใส่สีผึ้งตลับหนึ่ง ซองพลูทองคำซองหนึ่ง ซองบุหรี่ทองคำซองหนึ่ง มีดเจียนหมากด้ามหุ้มทองคำเล่มหนึ่ง คนโททองใบหนึ่ง กระโถนทองคำใบหนึ่ง หมวกประพาสใบหนึ่ง เสื้อประพาสตัวหนึ่ง แพรขลิบโพกผืนหนึ่ง สัปทนหนึ่ง แคร่หลังหนึ่งรวมทั้งหมด ๑๙ สิ่ง
ในโอกาสเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายลำดวน บุตรชายคนโตของพระยาวิชิตสงคราม (ทัต) จางวางเมืองภูเก็ต ขึ้นเป็นพระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (ลำดวน) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตด้วย
การขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของภูเก็ตครั้งนั้น เกิดจากชาวจีนอพยพเข้ามาทำเหมืองแร่และค้าขายเป็นจำนวนร่วมหมื่นคน ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้จะเข้ามาอาศัยรวมกันเป็นพวกๆ ตามภูมิลำเนาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกตน เป็นต้นว่า พวกยี่หินส่วนใหญ่เป็นจีนไหหลำ พวกปูนเถ้าก๋งเป็นจีนมาเก๊าและกวางตุ้งและพวกโฮ่เซ่งเป็นจีนฮกเกี้ยน ในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ พวกยี่หินจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ คน ได้ปะทะกับพวกปูนเถ้าก๋ง ซึ่งมีกำลังประมาณ ๔,๐๐๐ คน เกี่ยวกับแย่งสายน้ำทำเหมืองแร่ พระยาภูเก็ต (ทัต)และกรมการเมืองไม่มีกำลังพอที่จะระงับเหตุได้ ติดต่อขอความช่วยเหลือจากหัวเมืองใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร เมื่อกำลังทหารจากกรุงเทพฯ มาถึง ชาวจีนก็ยอมสงบศึก เหตุร้ายก็ระงับลงไปได้ครั้งหนึ่ง แต่บทเรียนครั้งนั้นทำให้รัฐบาลกลางสนใจที่จะแก้ปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองภูเก็ตให้ได้ผลดียิ่งขึ้นด้วยวิธีการ ๓ ประการ คือ ประการแรก ส่งกำลังทหารจากกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใกล้เคียงไปประจำอยู่ที่ภูเก็ต และให้พระยาภูเก็ต (ทัต) กับพระยาเสนานุชิต (นุช) ผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วป่าออกเงินซื้อเรือกลไฟลาดตระเวนไว้ช่วยเหลือเรือรบหลวงที่ผลัดเปลี่ยนกันออกไปประจำอยู่ที่ภูเก็ต
ประการที่ ๒ แต่งตั้งหัวหน้าชาวจีนขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดฝ่ายจีน ๒ นาย และนายอำเภอจีน ๔ นาย ปลัดฝ่ายจีน ได้แก่ หลวงอำนาจสิงขร และหลวงอร่ามสาครเขต นายอำเภอจีน ได้แก่ พระขจรจีนสกล หลวงพิทักษ์จีนประชาหลวงบำรุงจีนประเทศและหลวงนิเทศจีนารักษ์ เป็นต้น และประการที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองถลางออกจากเมืองตะกั่วป่ารวมเข้ากับเมืองภูเก็ตเพื่อให้เมืองทั้ง ๒ อยู่ในความดูแลของพระยาภูเก็ต (ทัต) เพียงคนเดียว หลังจากพระยาถลาง (คิน) ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ โปรดเกล้าฯ ให้พระภักดีศรีสงครามรามเดชะ (เกต) ปลัดเมืองภูเก็ตไปเป็นเจ้าเมืองถลางขึ้นกับพระยาภูเก็ต (ทัต)
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) มีลักษณะเป็นเจ้าเมืองแบบใหม่ กล่าวคือ ริเริ่มทำธุรกิจแบบทุนนิยม มีการส่งเสริมออกทุนทดรองให้จีนไปค้าขายและทำเหมืองแร่ ซึ่งก็เป็นการผลิตแบบทุนนิยม
No comments:
Post a Comment